อุบัติเหตุในเด็ก

อุบัติเหตุในเด็ก รีวิวแบบบ้านๆ

อุบัติเหตุในเด็ก จริงๆ มีสาเหตุมากจาก 2 เรื่องหลัก ๆ คือ สภาวะที่ไม่ปลอดภัย และ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย พยายามกำจัด 2 ตัวนี้ออกไปเพื่อลด อุบัติเหตุในเด็ก

เกริ่นๆ มาก็เพราะเผอิญไปโต๋เต๋กับเรื่อง เบาะนิรภัยสำหรับเด็ก (Car Seat) อยู่พักหนึ่ง เห็นเมืองนอกเมืองนาเขาบังคับใช้เป็นกฎหมาย จนจะต้องบอกว่า Car Seat เป็นสินค้าจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับคนมีรถยนต์ที่มีผู้โดยสารอย่างเด็กนั่งไปด้วย แต่บ้านเราผมไม่รู้ว่าเป็นกฎหมายบังคับใช้หรือป่าวไม่รู้ แต่นี่แสดงว่าเราควรใส่ใจเรื่อง อุบัติเหตุในเด็ก กันบ้างอะดิ

เอาเป็นว่า ไม่ว่าจะ เด็ก หรือ ผู้ใหญ่ หากถามว่า อุบัติเหตุ มีสาเหตุมาจากอะไร หากให้ตอบคำถามแบบ Pre-Question คงจะได้คำตอบร่วม 100 คำตอบเป็นแน่ จริงๆ หลักๆ แล้ว ต้นเหตุของอุบัติเหตุมันมาจาก 2 สาเหตุหลักด้วยกันก็คือ สภาวะที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) กับ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) นั่นเอง อ่านไปคงรู้สึกขัดๆ อะดิ หากคุยกับมนุษย์โรงงานละก็ อ้อ เรื่องนี้อบรมอยู่ได้ทั้งวี่ทั้งวัน หุหุ นี่เป็นการโยงเรื่องไม่เป็นเรื่อง มาเขียนเป็นเรื่อง อุบัติเหตุในเด็ก รีวิวแบบบ้านๆ ได้อย่างเนียนๆ (แอบเนียน)

  • สภาวะที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) มันคืออะไร ให้ลองตอบก่อนอ่านต่อ เอ้ามาดูตัวอย่างกัน เคยเดินเตะไม้ที่ยื่นออกมาวางไม่เป็นระเบียบบ้างไหม เจ็บแน่นอน ไอ้ไม้ที่วางไม่เป็นระเบียบยื่นออกมานะแหละคือ คือสภาวะที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นหากจะป้องกันอุบัติเหตุแล้ว ก็จัดไม้ให้มันเป็นระเบียบซะจบก็สิ้นเรื่อง แวะมาดูตัวอย่างเกี่ยวกับเด็กดูบ้าง เวลาพาเด็กเล็กๆไปโรงพยาบาล เค๊าจะมีพื้นที่ให้เด็กเล่น เช่น สไลเดอร์ หรือของเล่นต่างๆ ลองวิเคราะห์สภาวะที่ไม่ปลอดภัยดู เด็กเล่นสไลเดอร์ออาจะจะบาดเจ็บจากการกระทบพื้น ศีรษะชนมุมเหลี่ยมจากเครื่องเล่นต่างๆ การถลอกปลอกเปิกจากการล้มคะมำ เราจะเห็นได้อย่างชัดๆ เจนก็คือ เขาจะกำจัดสภาวะที่ไม่ปลอดภัยหลักๆ เช่น การวางพื้นนิ่มๆ ป้องกันเด็กล้มกระแทก ตัวสไลเดอร์ไม่สูงชันมากนัก เครื่องเล่นต่างๆ ดูออกแบบมาให้มีความมนไม่มีเหลี่ยม ชัดเจนครับตัวอย่าง
  • การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) อะไรอีกละเนี่ย ขับขี่มอเตอร์ไซค์  ใส่หมวกันน็อค กับ ไม่ใส่หมวกกันน็อค เวลาเกิดอุบัติเหตุอันไหนมีแววศีรษะจะได้รับบาดเจ็บมากกว่า ในที่นี้ การไม่สวมหมวกกันน็อค ก็คือการกระทำที่ไม่ปลอดภัยนั่นเอง แต่สำหรับเด็กแล้ว จะซุกซน ยังไม่รู้ปะสีปะสี ผู้ใหญ่คงจะต้องดูแลใกล้ชิด ห้ามปรามไม่ให้เล่นซุกซนที่มันอันตราย เช่น ปีนป่ายที่สูงๆ อะไรก็แล้วแต่ที่ผาดโผน น่าหวาดเสียว

เผอิญพูดเรื่องการห้ามปราม ภาษาโรงงานเขาจะมีคำฮิตๆ คำนึงก็คือ “Silence is consent” เอาให้เพราะๆ ก็คือ “การนิ่งเฉยเสียคือการยอมรับ” หากเด็กๆ เราห้ามปรามไม่ให้ทำในเรื่องที่สุ่มเสี่ยงจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ เด็กจะจดจำและเชื่อฟัง แต่หากเราเห็นเด็กปีนที่สูงแล้วเฉยๆ เด็กจะคิดว่าสิ่งที่กำลังทำไม่ผิดสามารถทำได้ และจะทำต่อไปอีก ในมุมผู้ใหญ่ ในโรงงาน หากหัวหน้างานเห็นลูกน้องไม่สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยในการทำงาน แล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ลูกน้องก็ประพฤติตนแบบนั้นต่อ เวลาเกิดอุบัติเหตุกับลูกน้องขึ้นมา หัวหน้าท่านนี้กับบอกว่า ลูกน้องไม่ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย เลยบาดเจ็บ มันก็กระไรอยู่นะ ว่าไหมหัวหน้า?

จริงๆ รีวิวแบบบ้านๆ ในเรื่อง อุบัติเหตุในเด็ก จริงๆ มันเป็นเรื่องของการฝึกวิเคราะห์หาสาเหตุของ  สภาวะที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) และ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) เพื่อที่จะได้กำจัดมันออกไป เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หรือ ลดการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นกับเด็กมากกว่า จริงๆ ที่นำมาเขียนเป็นบันทึกวันนี้ก็เพราะอยากจะให้มันเป็นบทนำเรื่อง ในเรื่อง เบาะนิรภัยสำหรับเด็ก (Car Seat) ที่กะว่าจะจำนำมาเขียนเล่นๆ อีกหลายเรื่อง แบบ รีวิวแบบบ้านๆ ไม่เชิงวิชาการ รู้สึกวันนี้จะเขียนแบบสบายๆ นิดๆ ไม่เน้น SEO (Search Engine Optimization) อีกด้วย

หนึ่งความคิดเห็นเกี่ยวกับ “อุบัติเหตุในเด็ก รีวิวแบบบ้านๆ”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.