ใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง

ทำไมใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง? หรือจะเป็นนางไม้ระบายสี

ในบ้านเราก็เห็น “ใบไม้เปลี่ยนสี” ในฤดูหนาว หรือ ฤดูใบไม้ร่วง กันอยู่บ้างสำหรับพืชบางชนิด บางชนิดก็ต้องยอมรับละว่าให้สีสดๆ ส้ม แดง เหลือง สวยงามน่าดูจริงๆ

ทำไม ใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง?

จริงๆ แล้วที่เราเห็นใบไม้มีสีเขียวนั้น เพราะว่าในใบไม้มีรงค์วัตถุที่ให้สีเขียวอยู่ในปริมาณมากชื่อ คอโรฟิลล์ (Chlorophyll) นอกจากนี้ในใบไม้ยังมีรงค์วัตถุที่ให้สีอื่นๆ อยู่ด้วยแต่ก็มีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับคลอโรฟิลล์ นี่เองเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามองเห็นใบไม้มีสีเขียว ปริมาณแสงแดดจะเป็นตัวกำหนดในการสร้างคลอโรฟิลล์ของพืช ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปริมาณแสงแดดต่อวันมีปริมาณน้อยลงทำให้พืชผลิตคลอโรฟิลล์น้อยลง ทำให้สัดส่วนแสงสีเขียวที่เราเห็นจากใบไม้ลดลงและมีสัดส่วนของสีอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาแทน

ในช่วงนี้พืชจะผลิตรงค์วัตถุ แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นรงค์วัตถุที่ให้สีแดงในปริมาณมากขึ้น ยังมีรงค์วัตถุที่ให้สีอีกตัวคือ คาโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งให้ สีส้ม สีเหลือง และ สีแดง แต่ตัวแคโรทีนอยด์นั้นจริงๆ แล้วจะให้สีเหลืองในปริมาณมากที่สุด สำหรับคาโรทีนอยด์นั้นปริมาณการผลิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณแสง แต่เป็นผลอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของรงค์วัตถุต่างๆ ที่ให้สีในใบไม้ ดังนั้นเมื่อใบไม้มีปริมาณ แอนโธไซยานิน และ คาโรทีนอยด์ ในปริมาณมากจึงทำให้เรามักจะมองเห็นใบไม้เปลี่ยนเป็น สีส้ม ในฤดูใบไม้ร่วง

แต่สำหรับพืชที่ยังมีปริมาณ คาโรทีนอย์ ในปริมาณปกติ แต่มีปริมาณ แอนโธแซนยานิน ในปริมาณน้อยจะทำให้เรามองเห็นใบของพืชชนิดนั้นเป็นสีเหลือง จริงๆ แล้วก็ยังมีรงค์วัตถุที่ทำให้ใบไม้มีสีอื่นๆ อีกเช่น แทนนิน (Tannin) ที่ทำให้เราเห็นใบของพืชบางชนิดเป็นสีน้ำตาลเช่นใบของต้นโอ๊ก (Oak)

อุณหภูมิเองก็ยังมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (Chemical Reaction) ในใบพืช ดังนั้นมันก็มีบทบาทในการกำหนดการเปลี่ยนสีของใบไม้อยู่บ้าง แต่สิ่งที่มีบทบาทที่ทำให้ใบไม้เปลี่ยนสีมากที่สุดก็คือ ปริมาณแสงแดด ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงหากท้องฟ้าสดใสมีแสงแดดมีมากเพียงพอ พืชจะผลิตแอนโธไซยานินในปริมาณมากทำให้เรามองเห็นใบพืชมีสีส้ม แต่ในวันที่ท้องฟ้าอึมคึมเราจะมองเห็นใบพืชเป็น สีเหลือง หรือ สีน้ำตาล แทน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.